วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

หมู



การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติของประเทศเกาหลี โดยมีอาจารย์โชคชัย สารากิจ จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนายั่งยืนภาคเหนือ ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นผู้ริเริ่มนำหลักการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาทำการดัดแปลงวิธีการเลี้ยงให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ประเทศไทย จนมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือ
ประโยชน์ของการเลี้ยง
1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70 %2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก3. วัสดุมุงหลังคา เช่น แฝก จาก กระเบื้อง(ขึ้นกับงบประมาณ)4. พื้นที่สร้างคอก คำนวณจาก จำนวนสุกร 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร(คอกขนาด 2x3 เมตร เลี้ยงได้ 5 ตัว)
การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม1. ขุดดินออกในส่วนพท้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซม.2. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล๊อค กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม สูงประมาณ 1 ฟุต3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
ดินส่วนที่ขุดออก 10 ส่วน
เกลือ 0.5 ส่วน
ผสมขี้เลื่อยหรือแกลบกับดินและเกลือใส่ลงไปเป็นชั้น ๆ สูงชั้นละ 30 ซม. แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพลงบนแกลบ ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) โรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ ทำจนครบ 3 ชั้น ชั้นบนสุดโดรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ
4. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
การจัดการเลี้ยงดู
การนำลูกหมู ควนมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.
ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม

ปลาหางนกยูง


การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์แล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลานับว่าเป็นปัจจัยที่ล้วนแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1 1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง
น้ำที่ใช้เลี้ยง ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด – ด่าง (pH ) 6.5 – 7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มก.ต่อลิตร ความกระด้างของน้ำ 75- 100 มก.ต่อลิตร ความเป็นด่าง 100 – 200 มก.ต่อลิตร และอุณหภูมิน้ำ 25 –29 ? C ควรมีน้ำไหลหมุนเวียนตลอดเวลา
อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาหางนกยูงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงสามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemaia) หรือหนอนแดง(Chironomus) หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40%อาหารสดก่อนให้ทุกครั้งควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร โดยควรแช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500 - 1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ) เป็นเวลาประมาณ 10 –20 วินาที ปริมาณอาหารสด ควรให้ 10% ของน้ำหนักตัวหรือให้กินแต่พออิ่ม ส่วนอาหารแห้ง ควรให้วันละ 2 - 4 % ของน้ำหนักตัวปลาโดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนการถ่ายเทน้ำควรจะทำทุกวัน โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ ? ของปริมาณน้ำในตู้ แล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเท่าเดิม